วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สรุปวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จากแหล่งโทรทัศน์ครู

  วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย 
   การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง 


การเรียนวิทยาศาสตร์  เป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญา    คือ
                1.  ความสามารถในการสังเกต  การจำแนก  การแจกแจง  การดู  ความเหมือน ความต่าง  ความสัมพันธ์
                2.  ความสามารถในการคิด  การคิดเป็นการจัดระบบความสัมพันธ์ของข้อมูลภาพ  และสิ่งที่พบเห็นเข้าด้วยกัน  เพื่อแปลตามข้อมูลหรือเชื่อมโยงข้ออ้างอิงที่พบไปสู่การประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม  การคิดเป็นคือการคิดอย่างมีเหตุผล  โดยคำนึงถึงหลักวิชาการและบริบท
                3.  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม  เด็กจะได้เรียนรู้จากการค้นคว้าในการเรียนนั้น ๆ
                4.  การสรุปข้อความรู้  หรือมโนทัศน์จากการสังเกต  และการทดลองจริงสำหรับเป็นพื้นฐานความรู้ของการเรียนรู้ต่อเนื่อง

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 16 วันที่ 18 กันยายน 2555
กิจกรรม

  • อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานและรูปถ่ายที่ไปจัดกิจกรรมให้น้องๆที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม โดยกลุ่มดิฉันรายงานในอาทิตย์ถัดไป

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 15 วันที่ 11 กันยายน 2555
กิจกรรม

  • จัดกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กอนุบาล 3 และเด็กป.1 ที่ สาธิตจันทรเกษม
ฐาน ลาวาเกลือ(น้ำ)
อุปกรณ์
  • น้ำ
  • น้ำมัน
  • เกลือ
  • แก้วน้ำ
วิธีทำการทดลอง
  • เทน้ำใส่แก้ว
  • เทน้ำมันตามลงไป
  • ใส่เกลือลงไป
  • สังเกตปฏิกิริยาของน้ำน้ำมันและเกลือ
ผลที่ได้
น้ำมันมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำจึงทำให้น้ำมันลอยตัวไม่ผสมกับน้ำ เมื่อเทเกลือใส่ลงไปเกลือจะผ่านความหนืดของน้ำมันและพาน้ำมันจมลงไปก้นแก้ว แต่พอเกลือละลายน้ำมันก็จะลอยตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว กลายเป็นลาวาเกลือ

พฤติกรรมของเด็กๆ
  • เด็กสนใจว่าทำไมจึงเกิดลาวาเกลือ
  • เด็กสามารถตอบคำถามได้หลากหลายมากกว่าหนึ่งคำถาม
  • เด็กได้เรียนรู้และทดลองด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติจริง








บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 14 วันที่ 4 กันยายน 2555
กิจกรรม

  • อาจารย์นัดดูบอร์ดที่แต่ละกลุ่มจัดมา เพื่อหาข้อผิดพลาดและแนะนำให้แก้ไขส่วนใดบ้าง
  • อาจารย์ให้ส่งสมุดวิธีทำดอกไม้ (2คนต่อ 1 เล่ม)
การบ้าน
  • อาจารย์นัดอบรม การเล่านิทาน วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2555
  • ตกลงเรื่องกลุ่มที่ต้องไปทำฐานการทดลองวิทยาศาสตร์ที่สาธิตจันทรเกษม

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 13 วันที่ 28 สิงหาคม 2555
กิจกรรม

  • หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน (เรียนชดเชย)

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 12 วันที่ 25 สิงหาคม 2555 (นัดเรียนชดเชย)
กิจกรรม

  • อบรมทำดอกไม้ และทำสื่อจัดป้ายนิเทศ โดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้นักศึกษาทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ สาขาการศึกษาปฐมวัยที่ห้องศูนย์วิชาชีพครู ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์
สิ่งที่ได้รับจากการอบรมครั้งนี้
  • ทำดอกกุหลาบแบบเชียงใหม่จากกระดาษ
  • ทำดอกบัวจากกกระดาษ
  • ทำผีเสื้อ
  • ทำใบไม้
  • ทำดอกไม้รูปหัวใจ
  • ทำดอกมะลิจากกระดาษทิชชู่

บันทีกการเรียน

ครั้งที่ 11 วันที่ 21 สิงหาคม 2555
กิจกรรม 

  • อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 8 คน และแจกหนังสือให้กลุ่มละ 1 เล่ม และให้แต่ละกลุ่มนำแต่ละหน่วยมาทำเป็น mindmap ร่วมกัน








การบ้าน
  • จับกลุ่ม 4 คน ทำกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 10 วันที่ 14 สิงหาคม 2555
กิกรรม 

  • หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน (อาจารย์นัดเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน 2555)

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 9 วันที่ 7 สิงหาคม 2555
กิจกรรม

  • หมายเหตุไม่มีการเรียนการสอน (อาจารย์นัดเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2555)

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 8 วันที่ 31 กรกฎาคม 2555
กิจกรรม

  • หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน (สอบกลางภาค)

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 7 วันที่ 24 กรกฎาคม 2555

                อาจารย์ให้นักศึกษา จัดกลุ่ม กลุ่มละ 11 คน โดยให้แบ่งหัวข้อเรื่อง กลุ่มละหัวข้อ มีดังนี้                         1.เรื่องน้ำ                         2.เรื่องแสง                         3.เรื่องอากาศ                         4.เรื่องการประกอบอาหาร                อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่อง แหล่งการเรียนรู้ จะประกอบด้วย                          1.สถานที่                          2.ข้อจำกัด                             - ห้ามถ่ายภาพ / สัมผัส                             - ห้ามเสียงดัง                             - เดินทางไม่สะดวก                             - ค่าบริการแพง                             - ไกล                         3.ประโยชน์                             - แหล่งข้อมูล                             - สังเกต                             - คำถาม                             - อยากทดลอง                             - ตื่นเต้น                             - เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง                             - ต้องค้นหา                             - เปรียบเทียบ  - คิด  สังเกต  คำนวณ  จำแนก

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 6 วันที่ 17 กรกฎาคม 2555
กิจกรรม 

  • ส่งงานวิทยาศาสตร์ พร้อมนำเสนอวิธีการเล่นและวิธีการประดิษฐ์
ชื่อของเล่น 

1.ลูกข่างหมุน
 

   2.จรวดกระดาษ
 
 
อาจารย์ให้ไปถามตารางเรียนที่สาธิตว่าสอนหน่วยอะไร แล้วนำมาทำงานกลุ่ม 5คน กลุ่มดิฉันได้หน่วย "วันแม่"อนุบาล1   อาจารย์ ให้อ.1 / อ.2/อ.3  รวมกลุ่มกันแล้วเขียนในกระดาษแผ่นใหญ่ว่าเกี่ยวกับวิทยาสาสตร์อย่างไรบ้างการบ้าน
  • แยกกลุ่มออกมา 5 คนเหมือนเดิมแล้วมาเขียนประสบการณ์สำคัญว่าได้อะไรบ้าง 

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 5 กรกฎาคม 2555
กิจกรรม

  • วันนี้เพื่อนๆนำเสนอผลงานของเล่นวิทยาศาสตร์ ของดิฉันนำเสนอในอาทิตย์ถัดไป
การบ้าน
  • ส่งงานของเล่นวิทยาศาสตร์

บันทึกการเรียน

ครั้งที่4 วันที่ 3 กรกฎาคม 2555
กิจกรรม

  • ดูวีดีโอวิทยาศาสตร์แสนสนุกสำหรับเด็กปฐมวัยเรื่องน้ำ น้ำเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไม่สามารถอดน้ำได้นานเกิน 3 วัน เพราะจะทำให้เสียชีวิตได้ แต่สัตว์ที่อดน้ำได้นานที่สุดคืออูฐ เพราะอูฐนั้นจะเก็บไขมันไว้ที่หลัง เมือมันขาดน้ำมันจะดึงส่วนนี้มาหล่อเลี้ยงร่างกายให้อยู่รอดได้ถึง 10 วัน
อาจารย์แนะนำวิธีการนำเสนอผลงานและการใช้เทคนิค เพื่อให้เด็กปฐมวัยเข้าใจง่าย คือการอธิบายและมีตัวอย่างประกอบ

การบ้าน

  • ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ 2 ชิ้น (กลุ่มละ 2คน)

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 3 วันที่ 26 มิถุนายน 2555
กิจกรรม

  • อาจารย์อธิบายวิธีการทำ mind map
อาจารย์อธิบายว่าถ้าเด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก็แสดงว่าเด็กเกิดการเรียนรู้(ประเมินจากพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก)
เช่น  เทน้ำปริมาณเท่ากันใส่แก้วทรงต่างกันคือยาวกับสั้นเด็กก็จะบอกว่าแก้วทรงยาวมีน้ำมากกว่าเพราะเด็กเลือกสิ่งที่ตาเห็น แต่ถ้าต่อไปเราทำแบบเดิมพร้อมอธิบายให้เด็กฟังเรื่อยๆเด็กก็จะรับรู้และเกิดการเรียนรู้ว่าน้ำนันมีปริมาณเท่ากันแต่ต่างกันแค่ขนาดแก้ว(ขั้นอนุรักษ์)
วิทยาศาสตร์มี 4 ตัว

  • ตัวเรา
  • ธรรมชาติรอบตัวเรา
  • สถานที่
  • อื่นๆ
วิทยาศาสตร์คือ ทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา
การบวนการทางวิทยาศาสตร์...


การบ้าน

  • ไปดูโรงเรียนสาธิตว่าแต่ละอาทิตย์เค้ามีแผนสอนอะไรให้ขอชื่อแผนสอนมาโดยการจับกลุ่ม  (กลุ่ม 1อายุ 3 ปี)
  • แล้วแตกหน่วยเป็น mind map

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 2 วันที่ 19 มิถุนายน 2555
กิจกรรม
อาจารย์สอนเรื่องความหมายของการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยพร้อมหลักการและเทคนิคประสบการณ์การต่างๆ

  • ได้รู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในด้านต่างๆ
  • ได้รู้ว่าการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กเราควรคำนึงถึงอะไรบ้าง
  • เขียนสิ่งที่คาดหวังที่จะได้รับจากรายวิชานี้
การบ้าน
  • ให้หาพัฒนาการทางสติปัญญาทางด้านวิทยาศาสตร์ของเด็กวัย 5 ขวบโดยใส่ลิ้งไว้ในบล็อค
  • จับกลุ่ม 4 คนทำ mind map ทำเรื่องอะไรมาก็ได้โดยบอกด้วยว่าเรื่องที่ทำมาสามารถสอนเป็นวิทยาศาสตร์ได้อย่างไรบ้าง

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 1 วันที่ 12 มิถุนาคม 2555
กิจกรรม

  • อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาสาระในวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การบ้าน
  • ให้นักศึกษาหามาตราฐานวิทยาศาสตร์ของสสวท.และลิ้งค์ใส่ในบล็อคของตนเอง
  • สร้างบล็อคของตนเอง
  • ลิ้งค์รายชื่อเพื่อน
  • ดูโทรทัศน์ครูเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์